สาวน้อยนักศึกษาแพทย์ ม.มหิดล แชมป์ประเภททีมแบรนด์ซูโดกุฯ
เผยเคล็ดลับเรียนดีเพราะเล่นซูโดกุเป็นประจำ - สร้างสมาธิ คิดเป็นระบบ

   วันนี้มีโอกาสได้พบกับสาวคนเก่ง “วธู วาสนสิริ” หรือ “ธู” นักศึกษาชั้นปีที่ 6
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีดีกรีเป็นถึงผู้ครองตำแหน่งแชมป์ประเภททีม ในการแข่งขัน “แบรนด์ซูโดกุชิงแชมป์ประเทศไทยและนานาชาติ 2009” ซึ่งเป็นการแข่งขันซูโดกุรายการใหญ่ ที่มีผู้เข้าแข่งขันจากนานาชาติจำนวนกว่า 1,000 ชีวิตเข้าร่วมชิงชัย  ซึ่งนอกจากทีมมหิดล ซึ่งมีคุณธูเป็นหัวหน้าทีมจะได้รับเงินรางวัลติดไม้ติดมือกลับบ้านแล้ว ทีมมหิดลยังได้รับถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุอีกด้วย เก่งรอบด้านอย่างนี้ ทางทีมงานไม่พลาดที่จะไปสอบถามเคล็ดลับการเล่นซูโดกุ รวมถึงเคล็ดลับการเรียนของคุณธูมาฝากน้องๆ ที่กำลังคร่ำเคร่งกับการเรียนและการสอบกันค่ะ
 
   โดยคุณธูเปิดใจว่า ได้เริ่มเล่นซูโดกุมานานแล้ว ประมาณ 12 - 13 ปี รู้จักเกมนี้เพราะตอนเด็กๆชอบเล่นเกมปริศนามาก เล่นได้ทุกอย่าง แต่ที่ชอบมากที่สุดคือซูโดกุ เพราะรู้สึกว่าเป็นเกมที่สนุก และยังเป็นเกมปริศนาที่ไม่ต้องมีเรื่อง “ดวง” มาเกี่ยวข้อง แต่ใช้การฝึกฝน ใช้เหตุใช้ผล การคิดวางแผน หาคำตอบที่ถูกต้องโดยพยายามแก้ปริศนาให้ผิดน้อยที่สุดหรือไม่ผิดเลย
“หลายคนเข้าใจว่าซูโดกุเป็นเกมที่คนเก่งเลขเท่านั้นจึงจะเล่นได้ ไม่จริงเลยค่ะ เพราะแท้จริงแล้วซูโดกุ ทุกคนสามารถเล่นได้โดยไม่ต้องใช้ความสามารถในการคิดคำนวณเลข แค่มีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลก็เล่นได้อย่างสนุกสนานแล้วค่ะ ส่วนวิธีการเล่นก็เพียงแต่ใส่ตัวเลข 1 ถึง 9 ลงในช่องตารางที่เว้นว่างไว้ โดยมีกฎกติกาว่า ตัวเลขในแต่ละแนวตั้ง แนวนอน และทุกตารางย่อย จะต้องไม่ซ้ำกัน สามารถใช้ตัวเลข 1-9 ในแต่ละแถวได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น” คุณธู เล่าให้ฟัง
โดยซูโดกุนั้นมีตารางหลากหลายรูปแบบ อาทิ ซูโดกุขนาด 9X9 ซูโดกุแทยงมุม ซูโดกุแบบตัวอักษร ซูโดกุมากกว่าน้อยกว่า ซูโดกุเลขคี่ ซูโดกุขนาด 16X16 ซูโดกุ3 ตารางซ้อนกัน ซูโดกุซามูไร เป็นต้น และยังมีระดับความยากง่ายแตกต่างกันไป คุณธูบอกว่า ตารางซูโดกุที่ถนัดที่สุดคือซูโดกุซามูไร ส่วนตารางรูปแบบที่ไม่ค่อยถนัดคือซูโดกุมากกว่าน้อยกว่า ส่วนเคล็ดลับที่ทำให้เก่งซูโดกุได้อย่างนี้คือการฝึกฝนให้รู้จักและคุ้นเคยกับตารางทุกรูปแบบ ศึกษาหลักการ การใช้เหตุผล เทคนิคในการตัดตัวเลขว่าลักษณะตารางเช่นนี้สามารถตัดตัวเลขนี้ออกไปได้ด้วยเหตุผล
                                                                   (2)

อะไร ก็ช่วยให้ทำได้เร็วขึ้น เพราะการแข่งขันซูโดกุรายการใหญ่ๆ นอกจากจะแข่งขันเรื่องความถูกต้องแล้ว ยังแข่งในเรื่องความเร็วของการแก้โจทย์ปริศนาด้วย ดังนั้นหากแก้โจทย์ได้ถูกต้องแต่ช้ากว่าผู้แข่งขันคนอื่นก็ทำให้เสียเปรียบ
เมื่อถามถึงประโยชน์ของการเล่นซูโดกุที่มีต่อการเรียน คุณธูบอกว่า “ซูโดกุนับเป็นอีกหนึ่งเกมปริศนาที่ช่วยฝึกสมอง ตรรกะ และไหวพริบได้เป็นอย่างดี ทำให้มีการคิดวางแผนอย่างเป็นระบบ และรวดเร็ว ช่วยให้การคิดของเรามีเหตุมีผลมากขึ้น มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น เพื่อนที่คณะแพทยศาสตร์ก็มีคนชอบเล่นซูโดกุหลายคนเลยค่ะ อย่างเพื่อนสนิท 2 คนของธูที่เรียนคณะแพทยศาสตร์ด้วยกัน คือ อำพร โรจนสกุล และปณิธิ ลีสุคนธ์ ก็ได้มาเข้าร่วมแข่งขันแบรนด์ซูโดกุและคว้าถ้วยชนะเลิศประเภททีมด้วยกันในปีนี้ด้วยค่ะ ดังนั้นซูโดกุมีประโยชน์แน่นอนอย่างน้อยก็ช่วยให้น้องๆมีสมาธิกับการฟังคุณครูสอนได้ดีเลยค่ะ”

สำหรับเคล็ดลับเรียนดี ว่าที่คุณหมอในอนาคตแนะนำว่า ให้น้องๆ กำหนดเป้าหมายในการเรียนให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว วางแผนและจัดการ จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำ หากทำตารางเวลาเป็นรายสัปดาห์ รายเดือนได้ยิ่งดี จากนั้นก็ทุ่มเทความพยายามให้บรรลุเป้าหมายนั้น  ที่สำคัญคือน้องๆต้องมีวินัยต่อตนเอง มีสมาธิ สนใจ ตั้งใจฟังและคิดตามเวลาอาจารย์สอน นอกจากนี้ก็อย่าลืมใส่ใจต่อสุขภาพร่างกาย กิจกรรมนันทนาการ หรือกิจกรรมกับเพื่อนๆและครอบครัว วางแผนจัดเวลาต่อสิ่งเหล่านี้ให้เหมาะสม ไม่ใช่ว่าเอาแต่เรียนโดยไม่พักผ่อน หากเคร่งเครียดเกินไปจะทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนล้าได้

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...